
อวสานสายลอก by CMMU LIBRARY
การขโมยความคิด (PLAGIARISM)
การโจรกรรมทางวรรณกรรม หรือ การลอกเลียนวรรณกรรม หมายถึง การนำผลงาน ความคิด หรือคำพูดของผู้อื่นไปใช้โดยไม่อ้างอิงที่มา หรือการนำความคิดและงานของผู้อื่นมาเขียน โดยทำให้ดูเหมือนว่ามาจากความคิดของตน – ราชบัณฑิตยสถานบัญญัติ
ประเภทของ การขโมยความคิด (PLAGIARISM)
โดยทั่วไป แบ่งประเภทของการ “ขโมยความคิด” ที่ ละเมิดลิขสิทธิ์ ออกเป็น 5 ประเภทหลัก ดังนี้
- ลอกข้อความมา โดยไม่อ้างอิง
- ลอกข้อความมา โดยไม่ใส่เครื่องหมายคำพูด (“_____”)
- ลอกความคิด โดยเอามาดัดแปลงหรือเขียนใหม่ เสมือนเป็นเจ้าของความคิด
- ลอกข้อความมา แต่ให้แหล่งอ้างอิงผิด
- ลอกข้อความมาบางประโยค แต่ไม่อ้างอิง
ในยุคปัจจุบันเมื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้น การตรวจสอบบทความที่ซ้ำและคัดลอกจึงง่ายมากขึ้น เพราะมีโปรแกรมที่สามารถใส่บทความลงไปและตรวจสอบได้ทันที เช่น
- TURNITIN ฐานข้อมูลออนไลน์ที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการ ในรูปแบบของสื่อสิ่งพิมพ์ออนไลน์
Website: https://library.cm.mahidol.ac.th
ทำไมต้องใส่แหล่งอ้างอิง?
- ป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะ ผลงานทุกชิ้น เมื่อเผยแพร่สู่สาธารณะชนแล้ว จะได้รับความคุ้มครองทางลิขสิทธิ์ตามกฎหมายอัตโนมัติ โดยไม่ต้องจดแจ้ง
- แสดงความมีจริยธรรมในวิชาชีพ
จงจำไว้ว่า…
- ความรู้ทั่วไป ที่ทุกคนรู้อยู่แล้ว ไม่ต้องใส่อ้างอิง
- ความรู้เฉพาะ มีเพียงแหล่งเดียว ต้องอ้างอิง
แล้วถ้าเกิดว่าจะต้องเอาบทความของคนอื่นมาใช้จริง ๆ ละก็ ควรต้องมีการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาและท้ายเล่ม ถ้าข้อความที่นำมาใช้ในผลงานจะต้องมีการอ้างอิงแทรกในเนื้อหา แต่ถ้าไม่มีข้อความที่คัดลอกมา เพียงต้องการให้ผู้อื่นอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนั้น ให้แทรกบรรณานุกรมไว้ท้ายเล่ม
สนใจเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำบรรณานุกรมและการอ้างอิงที่ถูกต้อง ผ่านโปรแกรม EndNote สามารถติดตามตารางวันเวลาผ่านทางเว็บไซต์และเพจห้องสมุด
Website: https://library.cm.mahidol.ac.th
Facebook: https://www.facebook.com/LIBMAHIDOL
พิมนิชาการ ทองสิงห์. (2561). ละเมิดลิขสิทธิ์ ! ผลงานแบบไหน ที่เข้าข่าย PLAGIARISM (ขโมยความคิด). ดึงข้อมูลจาก https://book.mthai.com/all-books/7160.html
No comments: